Chomsurang
Uppatham
ท32101 ภาษาไทย 3
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
นัดหมาย!
ท่องอาขยาน "มหาเวสสันดรชาดก"
ท่องอาขยาน "มัทนะพาธา"
วิเคราะห์ตัวละคร
ภาษากับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภาษา
มนุษย์ที่อยู่ต่างสถานที่ ต่างชุมชนจึงมีวัฒนธรรม
และภาษาแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม
ประกอบกับมีการผสมผสานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ
ทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เกร็ดควรรู้
บทละครพูดคำฉันท์
เรื่อง มัทนะพาธา
มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องก์
ประกอบด้วยคำประพันธ์ประเภท ฉันท์และกาพย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นทั้งหมดด้วยพระองค์เองโดยไม่ได้อิงเนื้อหามาจากที่อื่น
เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ ให้ข้อคิดเรื่อง
ความลุ่มหลงและความเจ็บปวดจากความรัก
มีท้องเรื่องเป็นแนวภารตะ แบ่งเป็นภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน
มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในด้านเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ และยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ประเภทบันเทิงคดีอีกด้วย
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
กัณฑ์มัทรี
ชาดกหมายถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอนที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นั้นมีมากมาย
แต่ชาติที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนั้น
มี ๑๐ ชาติ เรียกว่า ทศชาติชาดก โดยในแต่ละชาติทรงบำเพ็ญบารมี ยิ่งใหญ่ ๑๐ ประการ
เรื่องมหาเวสสันดรชาดกเป็นพระชาติสุดท้าย
โดยเป็นชาติที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ก่อนที่จะมาเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามรอยมัทรี
-
พระนางมัทรีได้ทรงพระสุบินเป็นอาเพศลางร้ายว่าอย่างไร
(กุมาร : 192-193) -
เพราะเหตุใดพระเวสสันดรจึงไม่ทำนายพระสุบินของพระนางมัทรี
ตามความจริงว่าจะมีเหตุทำให้ต้องพลัดพรากจากลูก (กุมาร : 194-195) -
เมื่อพระเวสสันดรหลั่งน้ำประทานบุตรยกให้แก่พราหมณ์ชูชก
ทำให้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์อันใดขึ้น (กุมาร : 215-216) -
เพราะคำกล่าวใดที่พระกัณหาตรัสออกอาจจะเป็นเหตุให้ในชาติต่อมา
ไม่ได้ประสูติเป็นพระธิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ (กุมาร : 224-225) -
เทพเจ้าทั้งสามได้รับคำสั่งเทวโองการมาให้กระทำการใดเพื่อขวางมิให้
พระนางมัทรีกลับอาศรมไปทันพบกัณหาชาลี (มัทรี : 232) -
พระนางมัทรีเข้าป่าแล้วเหตุอันเป็นลางร้ายที่แปลกประหลาดใดบ้าง
5 ประการ (ตอบเป็นข้อ) (หนังสือวรรณคดีวิจักษ์ หน้า 25) -
เพราะเหตุใดพระนางมัทรีไม่หนี พญาพาฬคฤราชไปทางอื่น
-
เมื่อกลับมาถึงอาศรมพระนางมัทรีพบกับสิ่งใด เกิดเป็นความรู้สึกอย่างไร
-
เมื่อพระนางมัทรีตรัสรำพึงรำพันกับพระเวสสันดรด้วยความเศร้าโศก
พระเวสสันดรตรัสว่าอย่างไรจึงทำให้พระนางคลายโศกเพราะเจ็บใจ -
หลังจากที่พระเวสสันดรไม่ยอมอธิบายสาเหตุที่กัณหาและชาลีหายไป
พระนางมัทรีจึงเที่ยวตามหากัณหาและชาลีเป็นระยเวลานานเท่าใด
และไกลเพียงไหน -
เมื่อพระนางมัทรีกลับมาที่อาศรมแล้วสลบไป พระเวสสันดรปฏิบัติอย่างไร
-
เมื่อพระนางมัทรีฟื้นและรับรู้ว่าพระเวสสันดรยกกัณหาชาลีให้แก่ชูชกไปแล้ว
พระเวสสันดรทรงทำอย่างไรต่อ -
ถ้ามีผู้มาขออวัยวะเนื้อหนังหรือดวงตาจากพระเวสสันดร
พระองค์จะทำอย่างไร -
เมื่อพระนางมัทรีทราบความทั้งหมด พระนางทำอย่างไรกับพระเวสสันดร
และหมู่เทวดาชาวฟ้าทั้งหลายกระทำการอย่างไร
(หนังสือวรรณคดีวิจักษ์ หน้า 34)
เกร็ดควรรู้
ช้างปัจจัยนาเคนทร์
พญาช้างคู่บารมีของพระเวสสันดร
ตั้งแต่ครั้งที่พระองค์ประสูติ
สกิล : เมื่ออยู่ในบ้านเมืองจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
ค่าประสบการณ์ : เมื่อเมืองกลิงคราษฎร์
เกิดแห้งแล้ง ได้ส่งพราหมณ์มาขอ พระเวสสันดรก็ยกให้จนเป็นเหตุให้พระองค์ถูกเนรเทศออกจากเมือง
แต่สุดท้ายเมืองกลิงคราษฎร์ก็นำมาคืนแล้วนะ
หาคำตอบตามรอยมัทรี
โดยศึกษาคำประพันธ์
จากหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ เตรียมนำเสนอแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน
ปัญจมหาบริจาค
การบริจาคทานที่ยิ่งใหญ่ 5 ประการ
ได้แก่ ทรัพย์สมบัติ อวัยวะ ชีวิต บุตรและภรรยา
สัตตสดกมหาทาน อ่านว่า "สัด-ตะ-สะ-ดก-มะ-หา-ทาน"
การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนเสด็จออกจากเมืองไปยังเขาวงกต
พระองค์ได้บริจาคของ 7 อย่าง ได้แก่ ช้าง ม้า รถ ทาสชาย(ทาสา)
ทาสหญิง(ทาสี) โคนม และนางกำนัล
เน้น!
ควรจำอินทรวิเชียรฉันท์และวสันตดิลกฉันท์ให้ได้
โคลนติดล้อ
โคลนติดล้อ เป็นบทความที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6
กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นตัวขัดขวางความเจริญ
ก้าวหน้าของประเทศชาติ ประกอบด้วยปัญหา 12 ประการ
ตอน ความนิยมเป็นเสมียน กล่าวถึง ความนิยม
ในการประกอบอาชีพรับราชการ
การเขียนรายงาน
เชิงวิชาการ
รายงานหรือตำราวิชาการ เป็นการเขียนเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาที่เป็นสาระในเชิงวิชาการที่มีรูปแบบเฉพาะ และภาษาที่ใช้เขียนก็ควรมีลักษณะเป็นทางการ กึ่งทางการ หรือมีศัพท์วิชาการต่าง ๆ มีการอ้างอิงหลักฐานความรู้ต่าง ๆ ตามลักษณะการเขียนงานวิชาการ ผู้เรียนจะได้มีโอกาสฝึกการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ และได้แสดงความคิดเห็นของตนเกี่ยวในประเด็นความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมมาได้
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
การแทนที่คำในโปรแกรม Word
การออกแบบการ์ด QR code
การจัดรูปแบบเอกสาร
การใส่เลขหน้ารูปแบบต่าง ๆ
การพูดต่อประชุมชน คือ การพูดทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มเพื่อแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆต่อผู้ฟังจำนวนมากในที่สาธารณะหรือในที่ประชุมชน โดยผู้ฟังอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองในขณะที่ผู้พูดกำลังพูด หรือพูดจบแล้วเป็นอวัจนภาษา เป็นข้อซักถามหรือเป็นข้อคิดเห็นก็ได้ สารที่ส่งไป ควรเป็นเรื่องที่รับฟังได้ทั่วไป เปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็น ซักถามหลังจากที่ผู้พูดพูดจบ